ป. 1/2526 เรื่อง การคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 1/2526 เรื่อง การคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็น ---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติติสำหรับการคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ เพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กรณีที่เจ้าของที่ดินทำสัญญาให้ผู้อื่นทำการปลูกสร้างอาคารหรือโรงเรือนบนที่ดินของตน โดยผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ปลูกสร้างนั้นให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ และเจ้าของที่ดินตกลงให้ผู้ปลูกสร้างเช่า หรือให้เช่าช่วงอาคารหรือโรงเรือน หรือตกลงให้ผู้ปลูกสร้างจัดหาผู้เช่าอาคารหรือโรงเรือนนั้นโดยตรงจากเจ้าของที่ดินเป็นการตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้คำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าในอัตราร้อยละของมูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ดังต่อไปนี้ จำนวนปีแห่งอายุการเช่า อัตราร้อยละของมูลค่าอาคารฯ 1 ปี 95.0 2 ปี 90.2 3 ปี 85.7 4 ปี 81.4 5 ปี 77.4 6 ปี 73.5 7 ปี 69.8 8 ปี 66.3 9 ปี 63.0 10 ปี 59.9 11 ปี 56.9 12 ปี 54.0 13 ปี 51.3 14 ปี 48.8 15 ปี 46.4 16 ปี 44.0 17 ปี 41.8 18 ปี 39.7 19 ปี 37.7 20 ปีขึ้นไป 35.8 คำว่า “มูลค่าอาคารหรือโรงเรือน” หมายความว่า ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในกรณีดังกล่าว ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้นให้ถือราคาทุนที่แท้จริงของอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ตัวอย่าง มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 1,000,000 บาท และมีอายุสัญญาเช่า 12 ปี เงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินจะเป็นเงิน 540,000 บาท (1,000,000 x 54.0/100 ) “มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนดังกล่าว เป็นมูลค่าที่ได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าแล้ว จะนำมาหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับกรณีดังกล่าวซ้ำอีกไม่ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป. 25/2533 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป) ข้อ 2 ให้นำเงินได้พึงประเมินที่คำนวณได้ตามข้อ 1 มาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ได้ โดยให้เจ้าของที่ดินยื่นรายการขอชำระภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เฉลี่ยได้เป็นรายปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนนั้นตามมาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีเจ้าของที่ดินมิได้ปฏิบัติติตามนัยดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินดังกล่าวตามมาตรา 18 ทวิ หรือมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 3 ความในข้อ 1 และข้อ 2 มิให้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อ 4 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้เสียไว้แล้ว หรือที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บไปแล้ว สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2526
สั่ง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 วิทย์ ตันตยกุล อธิบดีกรมสรรพากร |